[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
โรงเรียนเทศบาลวัดศรีประชาสรรค์
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป  
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
เมนูหลัก
สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
โครงการเด่น

โครงการธนาคารขยะ...

ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 7 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน
ค้นหาจาก google
พยากรณ์อากาศ
 

  

งานวิจัยการศึกษา
    เรื่อง : การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนด้วยกระบวนการโค้ชเพื่อการรู้คิด ที่เน้นการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนสื่อสารภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

เจ้าของผลงาน : นางอุมาภรณ์ อนันตอาจ
จันทร์ ที่ 27 เดือน กันยายน พ.ศ.2564
เข้าชม : 787    จำนวนการดาวน์โหลด : 2079 ครั้ง
5 stars เฉลี่ย : 5 จาก 1 ครั้ง.

บทคัดย่อ :
ชื่อเรื่อง         การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนด้วยกระบวนการโค้ชเพื่อการรู้คิดที่เน้นการให้ข้อมูลย้อนกลับ เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนสื่อสารภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้รายงาน      นางอุมาภรณ์   อนันตอาจ
ปีการศึกษา    2563    
                     
บทคัดย่อ
          การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1)  ศึกษาสภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนการสอน  ปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาการจัดการเรียนการสอนรายวิชาภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดศรีประชาสรรค์  อำเภอเมืองนครสวรรค์  จังหวัดนครสวรรค์  2)  พัฒนาและหาคุณภาพรูปแบบการเรียนการสอนด้วยกระบวนการโค้ชเพื่อการรู้คิดที่เน้นการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนสื่อสารภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3   3)  ทดลองใช้และศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนด้วยกระบวนการโค้ชเพื่อการรู้คิดที่เน้นการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนสื่อสารภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  3  ซึ่งประกอบด้วย 3.1)  เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะการเขียนสื่อสารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  ระหว่างก่อนกับหลังการทดลองใช้การสอนด้วยกระบวนการโค้ชเพื่อการรู้คิดที่เน้นการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนสื่อสารภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  3.2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะการเขียนสื่อสารภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนด้วยกระบวนการโค้ชเพื่อการรู้คิดที่เน้นการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนสื่อสารภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  กับเกณฑ์ร้อยละ 75  3.3)  เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่ได้รับการสอนด้วยกระบวนการโค้ชเพื่อการรู้คิดที่เน้นการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนสื่อสารภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  4.  ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนด้วยกระบวนการโค้ชเพื่อการรู้คิดที่เน้นการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนสื่อสารภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3   
            กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่ม  ได้แก่  1)  ผู้สอนภาษาไทยในระดับประถมศึกษาโรงเรียนเทศบาลวัดศรีประชาสรรค์  จำนวน 7 คนโดยได้มาจาการเลือกแบบเจาะจง (purposive  sampling) เพื่อสอบถามความคิดเห็นและแนวทางการแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนรายวิชาภาษาไทยในระดับประถมศึกษา 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2  ปีการศึกษา 2563  จำนวน  44  คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม  (Cluster Random Sampling)  โดยการจับสลาก เพื่อใช้ในการศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนด้วยกระบวนการโค้ชเพื่อการรู้คิดที่เน้นการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนสื่อสารภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  
          ผลการวิจัย พบว่า
            1.  ผู้ตอบแบบสอบถามความคิดเห็นทั้งหมดเป็นเพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 100  ส่วนใหญ่มีอายุ 40-49  ปี คิดเป็นร้อยละ57.14 และส่วนใหญ่มีวุฒิการศึกษาสูงสุดระดับปริญญาโท  คิดเป็น ร้อยละ  85.71  มีประสบการณ์การสอนในรายวิชาภาษาไทยในระดับประถมศึกษา 6 – 10  ปี     คิดเป็นร้อยละ 42.85  จากการสอบถามสภาพการจัดการเรียนการสอนปัจจุบันมีความเหมาะสมปานกลางด้านการวางแผนและการออกแบบการเรียนการสอนด้านการจัดการเรียนการสอน  ด้านการวัดและประเมินผลและด้านสื่อและแหล่งเรียนรู้มีความเหมาะสมน้อย
                ปัญหาของการจัดการเรียนการสอนมีปัญหามากที่สุดในด้านการวัดและประเมินผลและปัญหาที่พบมากที่สุดคือผู้สอนขาดความรู้  ความเข้าใจเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงผู้สอนขาดความรู้  ความเข้าใจในการหาคุณภาพของเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
                แนวทางการแก้ไขปัญหาของการจัดการเรียนการสอนมีความเหมาะสมมากและเห็นด้วยมากที่สุดในทุกด้านกับแนวทางการแก้ไขปัญหา
            2.  รูปแบบการเรียนการสอนด้วยกระบวนการโค้ชเพื่อการรู้คิดที่เน้นการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนสื่อสารภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  ประกอบด้วย  ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมความพร้อมก่อนการโค้ช (Preparing : P)  ขั้นที่ 2 ขั้นเขียนแผนการโค้ช  (Planning : P)   ขั้นที่ 3 ขั้นปฏิบัติการโค้ช  (Coaching : C) ขั้นที่ 4 ขั้นติดตาม ประเมินผลและให้ข้อมูลย้อนกลับ (Evaluation and Feedback : EF)  และผลการประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบของคู่มือการใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการโค้ชเพื่อการรู้คิดที่เน้นการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนสื่อสารภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญโดยคู่มือการใช้รูปแบบการเรียนการสอนฯ มีองค์ประกอบ คือ       1)  ความเป็นมา  2) แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 3)  คำแนะนำการใช้รูปแบบ 4)  กำหนดการของรูปแบบ  5) บทบาทของผู้สอน  6)  วิธีการวัดและประเมินผลและในส่วนของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มีองค์ประกอบ  ดังนี้ 1)  มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด  2)  สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด     3)  จุดประสงค์การเรียนรู้  4)  สาระการเรียนรู้  5)  กระบวนการจัดการเรียนการสอน  6)  การวัดและประเมินผล  7)  สื่อ/แหล่งเรียนรู้
            3.  การทดลองใช้และศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนด้วยกระบวนการโค้ชเพื่อการรู้คิดที่เน้นการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนสื่อสารภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3   มีดังนี้ 
                3.1  แผนการจัดการเรียนการสอนแต่ละแผนมีประสิทธิภาพสูงกว่าหรือเท่ากับเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ 75/75  ซึ่งมีประสิทธิภาพของทุกแผนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 77.40/76.03
                3.2  คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะการเขียนสื่อสารหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนด้วยกระบวนการโค้ชเพื่อการรู้คิดที่เน้นการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนสื่อสารภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  มีคะแนนหลังเรียน  (
x̅   =  25.56)  สูงกว่าคะแนนก่อนเรียน  ( x̅   = 11.20)   อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
                 3.3   คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการเขียนสื่อสารภาษาไทยหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนด้วยกระบวนการโค้ชเพื่อการรู้คิดที่เน้นการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนสื่อสารภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 คือ 85.22  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
                3.4   ผู้เรียนกลุ่มทดลองมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนด้วยกระบวนการโค้ชเพื่อการรู้คิดที่เน้นการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนสื่อสารภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  โดยรวมอยู่ในระดับมาก  (
x̅   = 4.44)  และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ  พบว่า  การเรียนการสอนแบบ PPCEF  Model กระตุ้นให้นักเรียนเกิดความกระตือรือร้นในการฝึกทักษะการเขียนสื่อสารภาษาไทยมากที่สุด  ( x̅  = 4.64) 
        4.  ค่าดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนด้วยกระบวนการโค้ชเพื่อการรู้คิดที่เน้นการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนสื่อสารภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  มีค่าเท่ากับ 0.7642  ซึ่งแสดงว่า รูปแบบการเรียนการสอนที่ผู้รายงานพัฒนาขึ้นทำให้นักเรียนมีทักษะด้านการเขียนเพิ่มขึ้น  0.7642  คิดเป็นร้อยละ  76.42
 
 
 
 
 
           
 
 
 




ดาวน์โหลด  ( Fulltext )  ( บทคัดย่อ ) 

งานวิจัยการศึกษา 5 อันดับล่าสุด

      การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนด้วยกระบวนการโค้ชเพื่อการรู้คิด ที่เน้นการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนสื่อสารภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 27/ก.ย./2564
      การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการสอนแบบ 4 MAT ประกอบบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดลาดปลาเค้า 1/ม.ค./2564
      การพัฒนารูปแบบการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลวัดศรีประชาสรรค์* 19/ต.ค./2563
      รายงานการจัดการเรียนรู้โดยเอกสารประกอบการเรียน ชุดแสงธรรมนำใจ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 23/ก.พ./2559
      รายงานการประเมินโครงการพัฒนาการจัดการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น ( School Based Management for Local Development : SBMLD ) ของโรงเรียนเทศบาลวัดศรีประชาสรรค์ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ 15/ต.ค./2558